
เพราะเรื่องไฟภายในบ้านนั้นเป็นเรื่องสำคัญ การเดินไฟในบ้านผิดวิธีอาจจะเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น อย่างการเกิดอัคคีภัยในบ้านได้ ดังนั้นการเดินไฟแบบถูกวิธีทำได้ง่ายๆ วันนี้แอดจะพาเพื่อนๆไปเรียนรู้ขั้นตอนการเดินไฟ ว่าควรเตรียมอุปกรณ์และความพร้อมอย่างไร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยภายในบ้าน และเดินไฟอย่างเป็นระเบียบไม่ให้ตัวบ้านดูรกไปหมด
เรียนรู้ขั้นตอน การเดินไฟในบ้าน ทำอย่างไร ไปดูกัน
ไฟเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากภายในบ้าน เพราะถ้าขาดไฟไป สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆก็จะไม่ตอบสนอง และแสงสว่างภายในบ้านก็เป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน ดังนั้นการเดินไฟในบ้าน จึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไปไม่ได้ หลายคนคิดว่าการเดินไฟเป็นเรื่องที่ยาก ต้องเป็นช่างเท่านั้นที่สามารถทำได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าหากเรียนรู้ขั้นตอน เราก็สามารถทำได้เช่นกัน วันนี้แอดจะพาไปดูว่าจะทำอย่างไร

เตรียมความพร้อมในการเดินไฟในบ้าน
1.เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
การจะเดินสายไฟแบบสวยๆภายในบ้าน ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์มีทั้งหมด 16 อย่าง คือ ค้อน , คีม , ไขควง , สว่านเจาะไม้ , บักเต้า , เข้มขัดรัดสาย , เลื่อยลอปากไม้ , มีดปอกสายไฟ , ฟุตเหล็ก , ดินสอ , เหล็กนำศูนย์ , เทปพันสายไฟ , สิ่ว , หัวแร้ง , เครื่องมือวัดระยะสายไฟ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่อยู่ในขั้นตอนการเดินไฟในบ้านทั้งสิ้น
2.เรียนรู้ประเภทของสายไฟ
เรียนรู้กันว่าสายไฟมีกี่ประเภท อะไรบ้าง สำหรับในการดินไฟในบ้าน
- สายไฟฟ้า ชนิด THW-A : เป็นสายไฟที่นิยมใช้แบบเดินลอย โดยแรงดันไฟฟ้าจะอยู่ที่ไม่เกิน 750 โวลต์ ตัวอุณหภูมินำขณะใช้งานอยู่ที่สูงสุด 70 องศาเซลเซียส จึงนิยมติดตั้งเดินเข้าบ้าน อาคาร สวน เป็นการเดินไฟชั่วคราว ซึ่งสายไฟฟ้ามีตัวนำเป็นอลูมิเนียมตีเกลียว เป็นชนิดแกนเดี่ยวจึงมีน้ำหนักที่เบา หุ้มกับตัวฉนวน PVC และการใช้งานเดินลอยในบ้านอากาศบนฉนวนลูตุ้มและลูกถ้วย
- สาย 60227 IEC 01 (THW) : เป็นสายไฟชนิดแกนเดี่ยว มีตัวนำเป็นทองแดง จะมีทั้งแบบเส้นเดี่ยวและตีเกลียว แรงดันไฟฟ้าจะอยุ่ที่ 750 โวลต์ อุณหภูมิสูงสุดที่ 70 องศาเซลเซียส ลักษณะของการใช้งานได้ทั่วไปเลย แต่ห้ามเดินบนรางเคเบิ้ล ยกเว้นในกรณีที่จะใช้เป็สายดิน
- สายไฟฟ้าชนิด VAF : สำหรับสายไฟชนิดนี้จะเป็นสายไฟฟ้าชนิดแบบแบน ตัวนำทองแดงเช่นกัน มีทั้งเส้นเดี่ยวและตีเกลียว หุ้มเปลือกนอกด้วยสีขาว กำลังไฟฟ้าอยู่ที่ 300/500 โวลต์ อุณหภูมิสูงสุดรับได้ 70 องศาเซลเซียส จะใช้งานคือเดินตามเกาะผนัง ห้ามฝังดินเด็ดขาด

3.ประเภทของการเดินสายไฟ
การเดินไฟในบ้าน แยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
- การเดินสายไฟแบบผนัง : สำหรับการเดินสายไฟแบบผนัง จะสามารถทำได้ในกรณีผนังอิฐหรือผนังเบา เป็นการเก็บสายไฟให้เป็นระเบียบ ดูเรียบร้อย ไม่ให้เห็นตัวสายไฟ ซึ่งข้อดีของการเดินสายไฟแบบผนังจะประหยัดพื้นที่ใช้สอย ไม่มีให้เห็นออกมาจากกำแพงมากนัก และยังมีความทนทานที่สูงกว่า เพราะติดตั้งภายในอาคาร แต่ในทางกลับกัน ขั้นตอนการทำที่ยุ่งยาก จึงจำเป็นต้องให้ช่างเชี่ยวชาญทำเท่านั้น เพราะถ้าเกิดการผิดพลาดในภายใน จะเกิดการซ่อมแซ่มที่ยากกว่าเดิม
- การเดินสายไฟแบบเดินลอย : เป็นการเดินสายไฟที่คนในปัจจุบันนิยมติดตั้งกัน โดยจะเห็นว่าจะมีตัวครอบด้วยรางอยู่ เป็นกรอบสีขาวๆ เป็นการจับหรือยึดสายไฟให้เข้ากับผนังนั้นเอง ข้อดีของแบบนี้จะใช้งบประมาณที่น้อย สามารถซ่อมภายหลังได้ง่ายไม่ยุ่งยาก แต่ในทางกลับกันต้องประณีตอย่างมาก เพื่อให้เกิดความสวยงามในการติดตั้ง

4.วิธีตรวจเช็คระบบเดินสายไฟ
ในขณะที่ติดตั้งในการเดินไฟในบ้านเรียบร้อยแล้วนั้น ควรจะมีการเช็คหรือตรวจสอบระบบเดินสายไฟทั้งหมดภายในบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟรั่วได้ง่าย มีทั้งหมด 3 วิธี ดังนี้
- ตรวจเช็คจากมิเตอร์ : สำหรับการตรวจเช็คจากมิเตอร์ ได้จากให้ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดภายในบ้าน และข้างนอกบ้านด้วยเช่นกัน ให้สังเกตุว่ามิเตอร์ยังมีการวิ่งอยู่หรือไม่ ถ้าไม่วิ่งแล้วแสดงว่าทุกอย่างโอเคปลอดภัย
- เช็คจากไขควงไฟฟ้า : วิธีการเช็คด้วยไขควงไฟฟ้ามีทั้งแบบกดเช็คไฟฟ้า และไม่ต้องกดเช็คไฟฟ้า โดยวิธีการคือให้นำไขควงลงไปในช่องของปลั๊กที่เกิดไฟฟ้าอยู่ ถ้าหากไขควงแสดงไฟออกมา แสดงว่าทุกอย่างโอเคปกติดี
- เช็คจากเครื่องใช้ไฟฟ้า : วิธีนี้คือการลองจับสังเกตว่าถ้าหากมีการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว มีการเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น ควรรีบหาช่างมาแก้ไขด่วน
สรุปแล้ว การ เดินไฟในบ้าน หากไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าพอสมควร ก็จะเป็นงานช้างพอสมควร เพราะการเดินไฟทั้งหมดภายในบ้านไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ต้องใช้เวลาเป็นวันในการเดินไฟฟ้า และต้องเรียนรู้วิธีไม่ใช่เพียงขั้นตอนเท่านั้น ต้องรู้ด้วยว่าอุปกรณ์แต่ละชนิดใช้อย่างไร และการเดินไฟควรทำประเภทไหนถึงจะเหมาะสม
ขอบคุณรูปจาก
www.kachathailand.com
อ่านต่อที่ รีวิว 10 ประตูบ้านสวยๆ ดูหรู ดูแพง