รู้หรือไม่ว่าหลอดไฟในบ้านเราที่ใช้กันอยู่มีกี่ประเภท? เชื่อเหลือเกินว่าเจอคำถามนี้เข้าไปต้องมีหลายคนที่ไม่รู้จะตอบอย่างไรแน่นอน วันนี้เราก็เลยอยากจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับ ประเภทของ หลอดไฟ พร้อมการใช้งานแต่ละประเภท เพื่อเป็นความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน หรือเอาไว้ใช้ประโยชน์ในยามจำเป็นได้ เอาล่ะทีนี้หลอดไฟบ้านเรามีกี่ประเภทบ้างนั้น ตามมาอ่านข้อมูลนี้กันเลย
หลอดไฟสามารถแยกได้ 6 ประเภท ดังนี้
1. หลอดไส้ ( Incandescent Lamp )
เป็น หลอดไฟ ที่นิยมใช้งานกันมายาวนาน เรียกอีกชื่อก็คือ หลอดดวงเทียน เพราะมีแสงออกแดงๆ คล้ายกับแสงเทียน ซึ่งหลายคนก็น่าจะคุ้นเคยและรู้จักกับหลอดไฟชนิดนี้กันเป็นอย่างดี โดยมีทั้งชนิดแบบแก้ว และแบบฝ้า ตัวไส้หลอดนั้นทำมาจากทังสเตน มีคุณสมบัติให้ความร้อนสูง
หลักการทำงานของหลอดไส้ คือ กระแสไฟฟ้าจะผ่านไส้หลอดและเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าไปเป็นความร้อน จากนั้นเมื่อไส้หลอดร้อนก็จะเปล่งแสงออกมานั่นเอง สำหรับข้อเสียของหลอดไส้ คือ เมื่อความร้อนสะสมมากๆ เข้า ก็ยิ่งทำให้อายุการใช้งานยิ่งสั้นลงและกินไฟมากขึ้น
2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ ( Fluorescent tube ) หรือหลอดเรืองแสง
หลอดไฟชนิดนี้จะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ถึง 5 เท่า และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 7 – 8 เท่า โดยในตัวหลอดจะมีไส้โลหะทังสเตนติดอยู่ที่ปลายทั้ง 2 ข้า มีผิวภายในถูกฉาบด้วยสารเรืองแสงและใส่ไอปรอทไว้เล็กน้อย
สำหรับหลักการทำงานของ หลอดไฟ ชนิดนี้ก็คือ เมื่อกระแสไฟฟ้าเดินทางไหลผ่านปรอท ก็จะทำการคายพลังงานออกมาในรูปแบบของรังสีอัลตราไวโอเลต โดยเมื่อกระทบกับสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ ก็ทำให้แสงหลอดไฟเปล่งออกมา ส่วนอายุการใช้งานนั้นมีตั้งแต่ 6000 ถึง 20000 ชั่วโมง
3. หลอดฮาโลเจน ( Halogen )
ถูกพัฒนาจาก หลอดไฟ แบบไส้ ที่มีการใช้ก๊าซฮาโลเจนบรรจุไว้ภายใน ซึ่งจะให้ความทนทานกว่าหลอดไส้แบบปกติ โดยให้ค่าความถูกต้องของสีได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และมักนำไปใช้กับพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างมากเป็นพิเศษ อย่างเช่น พื้นที่ในงานจัดแสดงสินค้า หรือใช้ในมุมอับของบ้านและห้องทำงาน เป็นต้น ส่วนอายุการใช้งานจะมีตั้งแต่ 1500 – 3000 ชั่วโมง
4. หลอดเมทัลฮาไลด์ ( Metal halide )
เป็น หลอดไฟ ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มหลอดไฟที่ให้ความเข้มของแสงสูง โดยมีหลักการทำงานคือ Arc ไฟฟ้าจะวิ่งผ่านกลุ่มก๊าซภายในโคมไฟ ซึ่งหลอด arc ที่มีขนาดเล็กจะไปผสมเข้ากับแรงดันสูงของอาร์กอน ปรอท รวมถึงความหลากหลายของเหล่าโลหะมาผสมกัน จนทำให้เกิดเป็นสีสันต่างๆ ขึ้นมา
จากนั้นความร้อนก็จะเกิดขึ้นจากการแตกตัวของปรอทและไอโลหะ จนทำให้อุณหภูมิและความดันเพิ่มขึ้นมา ดังนั้นหลอดไฟเมทัลฮาไลด์นี้จึงทำงานภายใต้ความดันและอุณหภูมิที่สูง โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะนำไปใช้ส่องสว่างในสนามกีฬา หรือใช้เป็นไฟสาดอาคารเน้นให้ความสวยงาม ส่วนอายุการใช้งานประมาณ 24000 ชั่วโมง
5. หลอดแสงจันทร์ หรือ หลอดไฟไอปรอท
หลอดไฟ ประเภทนี้ จะทำงานด้วยการปล่อยประจุความเข้มข้นสูงออกมา โดยมีหลักการทำงานก็คือ ใช้ไฟฟ้าแรงสูงกระโดดผ่านไอปรอทที่อยู่ภายในหลอด เพื่อทำให้เกิดแสงสว่างขึ้นมา โดยส่วนมากจะมีอายุการใช้งานประมาณ 24000 ชั่วโมง แต่จะให้ค่าความถูกต้องของสีค่อนข้างต่ำและให้แสงสีขาวค่อนข้างเข้ม ซึ่งแสงไฟที่ได้จะออกสีนวลๆ มีปริมาณของแสงสว่างต่อวัตต์ที่สูงกว่าหลอดไฟชนิดอื่นๆ ทั้งนี้แสงสามารถส่องสว่างได้ไกลมาก เหมาะใช้ในโรงงาน โกดังสินค้า และสนามกีฬา เป็นต้น
6. หลอดคอมแพคต์ฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดตะเกียบ
สำหรับหลอดไฟชนิดนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายๆ กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เราคุ้นเคยกันดี โดยจะมีแบบที่บัลลาสต์อยู่ในตัวและแบบที่อยู่ภายนอก และยังมีรูปร่างที่หลากหลายให้เลือกใช้ เช่น แบบเกลียว แบบหลอด และแบบหลอดสี่แถว โดยส่วนมากแล้วอายุการใช้งานหลอดไฟชนิดนี้จะมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์
7. หลอด LED
ถือเป็น หลอดไฟ ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงมาจากเทคโนโลยีของยุคใหม่ๆ โดยมีหลักการทำงานที่แตกต่างจากหลอดไฟแบบทั่วๆ ไป ก็คือ แสงสว่างจะเกิดขึ้นมาจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ภายในสารกึ่งตัวนำหลอด LED ซึ่งจะลดจุดด้อยต่างๆ ของหลอดไฟประเภทที่ผ่านมา อย่างเช่น ในเรื่องของความร้อน
เนื่องจากหลอดชนิดนี้จะไม่มีการเผาไส้ของหลอด และยังให้อายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 50000 ชั่วโมงเลยทีเดียว แถมยังใช้ Watt น้อยมากแต่ให้การส่องสว่างที่มากกว่า และถนอมสายตาได้ดีกว่า เนื่องจากตัวหลอดมีการกระพริบน้อยมากๆ ทั้งยังไม่มีสาร UV ที่เป็นอันตรายและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้เกี่ยวกับประเภทของ หลอดไฟ และการใช้งานในแต่ละประเภท บอกเลยว่าถ้าอ่านมาตั้งแต่ต้นจนอ่านจบมาจนถึงตรงนี้ เชื่อว่าต้องได้ความรู้และความเข้าใจเพิ่มขึ้นเยอะเลยล่ะ ทีนี้ก็รู้กันแล้วนะว่าหลอดไฟประเภทไหนเหมาะสำหรับใช้งานแบบไหนได้บ้าง และอย่าลืมนำความรู้ที่ได้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กันนะ
รูปภาพประกอบ : istockphoto.com
รูปภาพประกอบ : pjr-electric.com
รูปภาพประกอบ : priceza.com
อ่านต่อที่ ตกแต่งภายใน