เรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับ สายไฟ ที่คนทำบ้านต้องรู้

เรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับ สายไฟ

สำหรับวันนี้เราจะมาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ สายไฟ ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนจะต้องรู้เอาไว้ ตั้งแต่เรื่องของความหมาย ส่วนประกอบหลักสำคัญ รวมไปถึงสถานที่ที่เหมาะสมแก่การใช้งานด้วย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ก่อนจะนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง เอาล่ะรายละเอียดเกี่ยวกับสายไฟฟ้ามีอะไรบ้างนั้น เรามาอ่านไปพร้อมกันเลย

เรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับ สายไฟ 1

สายไฟฟ้า คืออะไร

สายไฟ คือ วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุโลหะ มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี เพราะโลหะมีเนื้อแข็งและเหนียว โดยเฉพาะทองแดงเป็นโลหะที่สามารถนำมาแปรรูปได้ตามต้องการ ทั้งนี้สายไฟแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันไปตามโครงสร้างและคุณสมบัติการใช้งาน

ส่วนประกอบสำคัญของ สายไฟ

1. ตัวนำไฟฟ้า ( Conductor )

ตัวนำไฟฟ้า ทำมาจากโลหะ ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานไฟฟ้าต่ำและมีค่านำไฟฟ้าสูง ทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสไฟฟ้า ซึ่งโลหะที่นิยมนำมาใช้ทำเป็นตัวนำไฟฟ้า ได้แก่ 

• ทองแดง เป็นโลหะที่มีค่าการนำไฟฟ้าสูงรองจากโลหะเงิน สามารถรีดเป็นเส้นและดัดงอได้โดยไม่เปราะหักง่าย มีคุณสมบัติในการนำความร้อนได้ดี แต่มีน้ำหนักมากและยังมีราคาสูงกว่าอลูมิเนียม จึงนิยมใช้ทองแดงสำหรับ สายไฟ ในตัวอาคารและการติดตั้งใต้ดินมากกว่า ( Underground cable )

• อลูมิเนียม มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้ต่ำกว่าทองแดง ประมาณ 62 เปอร์เซ็นต์ ของทองแดง แต่จะไม่แข็งแรงเปราะหักได้ง่ายกว่า จึงไม่สามารถนำมารีดให้เป็นเส้นลวดขนาดเล็กได้ แต่มีข้อได้เปรียบตรงที่น้ำหนักเบากว่าและราคาถูกกว่ามาก ดังนั้นจึงเหมาะแก่การนำมาใช้กับสายไฟฟ้าที่มีการติดตั้งแบบแขวนลอยในอากาศ เนื่องจากเปราะหักง่าย จึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นตัวนำสายตีเกลียวหรือสายอ่อนขนาดเล็กและตัวนำที่ต้องติดตั้งในอาคาร

เรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับ สายไฟ 2

2. ฉนวน ( Insulation )

ฉนวน เป็นตัวป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลไปยังส่วนอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดอันตราย มีคุณสมบัติทนความร้อนและกันของเหลวไหลผ่านได้ดี และยังสามารถป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าไหลผ่านได้ โดยวัสดุที่ใช้ทำฉนวนมีหลายชนิด และแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่ต่างกันไป โดยวัสดุที่นิยมใช้กันมากที่สุด ได้แก่ โพลิไวนิลคลอไรด์ ( Polyvinyl Chloride: PVC ) และ ครอสลิงค์ โพลีเอททีลีน ( Cross-Linked Polyethylene: XLPE )

• ฉนวน PVC จะมีความนิ่มและอ่อนตัว นำมาดัดงอได้ง่าย จึงนิยมใช้เป็นฉนวนสายไฟแรงดันต่ำที่ใช้ติดตั้งภายในอาคาร เนื่องจากมีคุณสมบัติต้านทานการลุกไหม้ไฟในตัวเอง โดยฉนวน PVC เหมาะสำหรับใช้กับที่มีพิกัดอุณหภูมิตัวนำสูงสุดที่ 70 องศาเซลเซียส

• ฉนวน XLPE จะมีความแข็งแรงและทนต่อความร้อนได้ดี เหมาะสำหรับใช้กับ สายไฟ ที่มีพิกัดอุณหภูมิตัวนำสูงสุดที่ 90 องศาเซลเซียส นิยมใช้เป็นฉนวนของสายไฟฟ้ากำลัง โดยเฉพาะสายไฟฟ้าที่มีแรงดันสูง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีกว่าฉนวนแบบ PVC ทั้งทนอุณหภูมิได้สูงกว่า แข็งแรงกว่า ต้านทานไฟฟ้าได้สูงกว่า ป้องกันน้ำซึมผ่านได้ดีกว่า แต่มีข้อเสียก็คือเมื่อติดไฟจะทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว จึงไม่นิยมนำมาใช้ในการติดตั้งในตัวอาคาร

3. เปลือกนอก ( Sheath )

เปลือกนอก คือ พลาสติกโพลิเมอร์ที่อยู่ชั้นนอกสุดของ สายไฟ ทำหน้าที่คอยป้องกันสายไฟ ไม่ว่าจะป้องกันการขูดขีด แรงกดทับ แรงกระแทก น้ำ แสงแดด และความชื้น รวมถึงการกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น

• PVC มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับฉนวน โดยจะเหมาะสำหรับสายไฟฟ้าที่ใช้ติดตั้งภายในตัวอาคาร

• PE มีความแข็งแรง ทนต่อการขูดขีด รับแรงกระแทก และป้องกันน้ำซึมได้ดี แต่มีข้อเสียคือสามารถทำให้ไฟลุกลามได้รวดเร็วเช่นเดียวกับฉนวน XLPE ดังนั้นจึงเหมาะจะใช้เป็นเปลือกของ สายไฟ ที่ใช้ติดตั้งใต้ดินมากกว่า

• LSHF ( Low Smoke Halogen Free ) ใช้สำหรับติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัยมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ช่วยต้านทานการลุกลามของไฟ มีควันน้อยและไม่ปล่อยก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรดเมื่อถูกไฟไหม้ แต่มีข้อเสียก็คือไม่แข็งแรงเท่ากับ PVC PE และไม่เหมาะใช้ในการติดตั้งแบบฝังดินด้วย เนื่องจากมีการดูดซึมความชื้นสูง

และนี่ก็คือความรู้เบื้องต้นทั้งหมดเกี่ยวกับ สายไฟ ที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ เพื่อให้คนที่มีแพลนจะทำบ้านได้รู้ถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องใช้เกี่ยวกับสายไฟฟ้า รวมถึงคนที่ต้องใช้ความรู้ในเรื่องนี้ประกอบการทำงาน ได้ศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมที่สุด 

อ่านบทความ รีวิว สวิทช์ไฟ จากพรีโอ่ มาตรฐานสากล สู่บ้านคุณ

PG Slot เว็บตรง

Recent Posts

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ร้านอาหารอร่อย
kinkubsher

แฟชั่นผู้ชาย
maleextratoday

แบบบ้าน
baan-design

แต่งงาน
weddingdistrictfrance