วอลล์เปเปอร์ (Wallpaper) วัสดุตกแต่งผิวผนังที่สามารถติดตั้งได้ง่าย รวดเร็ว เสร็จได้ภายในวันเดียว ประกอบกับความเหนียวทนทาน ใช้งานได้นานหลายปี กับราคาที่ไม่แพง มีโทนสี และลวดลายให้เลือกมากมาย ช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนุกกับการตกแต่งผนังห้องด้วยวอลล์เปเปอร์ ในหลายสไตล์มากยิ่ง

วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่า วอลล์เปเปอร์ (Wallpaper) ที่เรารู้จักกันนั้น มีกี่ประเภท ควรเลือกใช้งานอย่างไร ให้การติดวอลล์เปเปอร์นับจากนี้สอดรับกับจินตนาการของเราอย่างบรรเจิด
วอลล์เปเปอร์ (Wallpaper) ถือกำเนิดมาจากการขึงผ้า
วอลล์เปเปอร์ (Wallpaper) ที่เราใช้เป็นกระดาษสวยงามตกแต่งผนังห้องกันนั้น แรกเริ่มเดิมที่ ใครรู้บ้างว่า วอลล์เปเปอร์เกิดขึ้นมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 หรือยุคกลางเหล่าคนชั้นสูงผู้มั่งคั่งในทวีปปยุดรปทำการตกแต่งปราสาทบ้านเรือนด้วยการการขึงผ้าประดับตกแต่งไว้ที่ผนังหิน เพื่อเพิ่มสีสัน และความสวยงามหรูหราให้แก่ห้อง

ในขณะที่คนชนชั้นทั่วไปที่ต้องการความสวยงามแบบนี้เช่นกัน ได้นำกระดาษมาใช้ในการตกแต่งผนังแทน ซึ่งมีหลักฐานการนำกระดาษไปใช้ตกแต่งผนังตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยในช่วงแรกนั้น เป็นการพิมพ์ลวดลายบนกระดาษขนาดเล็ก โดยเป็นการพิมพ์แบบขาวดำ
ต่อมาในศตวรรษที่ 17 ผู้คนนิยมใช้วอลล์เปเปอร์ที่พิมพ์ลงบนกระดาษแผ่นเล็ก ซึ่งคาดไม่ถึงว่ามันจะทำให้ผนังสวยงามได้อย่างไม่น่าเชื่อ แต่การนำไปใช้งานนั้นยังค่อนข้างลำบาก และให้ความทนทานน้อย ผู้คนจึงคิดค้นวิธีการผลิต และพัฒนาวอลล์เปเปอร์ให้ใช้งานได้ง่ายและทนทานมากขึ้น จนสามารถทำเป็นม้วนกระดาษขนาดยาวต่อเนื่องกันได้ 10.5 เมตร ซึ่งเป็นความยาวของขนาดม้วนมาตรฐานที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้วอลล์เปเปอร์กลายเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่นั้นมา
วอลล์เปเปอร์ มี Raw Materials กี่ชนิด
1. Duplex Wallpaper

วอลล์เปเปอร์ชนิดนี้เป็นวัสดุบุผนังที่ผลิตจากกระดาษพิมพ์ลายอย่างเดียว ไม่ได้เคลือบหน้า หรือเพียงเคลือบมันบางๆ ที่ผิวหน้าเท่านั้น หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่สูง แต่ลวดลายอาจจะดูไม่ค่อยมีมิติ ไม่เหมาะติดในห้องที่มีความชื้น หรือเปียก เพราะมีขีดจำกัดในด้านความทนทาน
2. Vinyl Wallpaper

วอลล์เปเปอร์ชนิดนี้เป็นวัสดุบุผนังที่ผลิตจากกระดาษเคลือบผิวหน้า (Surface) ด้วยสารประเภทไวนิลพิมพ์สี และใช้การกดลาย (Emboss) เพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ในบางชนิดมีการทำรีจิสเตอร์ (Register) เพื่อเพิ่มเส้นของลวดลายต่างๆ ให้กับวอลล์เปเปอร์ โดยมีลักษณะผิวหน้ามันและผิวแบบด้าน ไวนิลจึงเป็นชนิดวอลล์เปเปอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะสามารถเช็ดทำความสะอาดได้ด้วยน้ำ ดูแลรักษาง่าย ไม่เป็นที่เกาะของฝุ่นละออง เหมาะกับการแต่งคอนโดผนังห้องทั่วไป แต่เมื่อเวลาผ่านไป สีและลวดลายอาจจางเร็วเมื่อเจอแสงแดดบ่อยๆ
3. Foam Wallcovering

วอลล์เปเปอร์ชนิดนี้เป็นวัสดุบุผนังชนิดหลังกระดาษ (Paper Back) เคลือบผิวหน้าด้วยสารพีวีซี (PVC) หรือโฟมพิมพ์สีแล้วทำการอบนูนเพื่อให้เป็นลวดลาย ลักษณะเด่น คือ มีลวดลายที่ลึกเด่นชัด มีความหนานุ่ม และสามารถทำความสะอาดได้ง่าย เหมาะสำหรับติดตั้งในที่ที่ไม่มีฝุ่นมาก เช่น ห้องนอน ห้องปรับอากาศ สามารถบดบังความไม่เรียบร้อยของผนังได้ดี นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักเบากว่าประเภทอื่นจึงสามารถติดบนเพดานได้ดี แต่ควรระวังเป็นพิเศษในเรื่องของความชื้นจากฝ้าเพดาน ซึ่งอาจจะเกิดจากหยดน้ำ จากความเย็นของช่องแอร์แบบฝังเพดาน หรือ หลังคารั่วแล้วน้ำหยดซึมลงเพดาน เป็นต้น
4. Textile Wallcovering

วอลล์เปเปอร์ชนิดนี้เป็นวัสดุบุผนังชนิดหลังกระดาษ (Paper Black) แล้วใช้เส้นใยธรรมชาติหรือใยสังเคราะห์ เช่น ฝ้าย ไหม โพลีเอสเตอร์ ทอเป็นลวดลายบนกระดาษ ลักษณะเด่น คือ มีเส้นสายที่ชัดเจน โดดเด่น สร้างความหรูหราให้กับผนังเป็นอย่างดี เป็นแบบหน้ากว้าง แต่การดูแลรักษาจะต้องระมัดระวังไม่ให้โดนฝุ่น และความชื้นเด็ดขาด เพราะทำมาจากเส้นใยธรรมชาติซึ่งมีความเปราะบาง
5. Non-Woven Wallpaper

วอลล์เปเปอร์ชนิดนี้ผลิตจากเส้นใยเซลลูโลส มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายกว่ากระดาษ ทนทานมากกว่าในด้านความเหนียว ฉีกขาดยาก สามารถระบายความชื้นได้ดีกว่ากระดาษ คุณสมบัติ คือ ลอกออกง่ายสำหรับการเปลี่ยนวอลล์เปเปอร์ (Repealable) ใหม่ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องใช้เยื่อไม้จากป่าสนในการทำวัตถุดิบ เป็นเทคโนโลยีจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในตลาดยุโรป อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในตลาดโลก
6. Photo Wall

วอลล์เปเปอร์ชนิดนี้เป็นภาพวิว คือ กระดาษติดผนังที่พิมพ์เอาลวดลายหรือรูปภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติหรือภาพเขียน ภาพถ่าย มีลักษณะเป็นภาพเดียวทั้งผนัง เรื่องราวของภาพมีความสวยงามต่อเนื่อง เช่น ภาพบรรยากาศเมือง ภาพวิวธรรมชาติ ภาพบุคคล เป็นต้น ซึ่งวอลล์เปเปอร์ชนิดนี้ ต้องมีการเตรียมพื้นที่ และวัดขนาดที่แน่นอน เพราะถ้าหากไม่เตรียมพื้นที่อาจทำให้เมื่อติดตั้งไปแล้ว ภาพจะขาดๆ เกินๆ ไม่สวยงาม
7. Fiber Wall

วอลล์เปเปอร์ชนิดนี้เป็นวัสดุบุผนังที่แตกต่างจากวอลล์เปเปอร์ทั่วไป คือ ผลิตจากวัสดุแผ่นหลัง ที่เป็นแผ่นยิปซัมรีดบาง แล้วเคลือบผิวหน้าด้วยการใช้เส้นใยไฟเบอร์มาถักเป็นโครงสร้างเส้นใย (NET) แล้วทำการพิมพ์สีลวดลายให้สวยงาม ลักษณะเด่น คือ Backing ที่เป็นยิปซัม สามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำได้ดี อีกทั้งโครงข่าย (NET) ของไฟเบอร์ที่มีความเหนียว ยึดผนังไว้เป็นอย่างดี ช่วยผนังให้ไม่เกิดรอยร้าว และป้องกันรอยแยกได้ในระดับหนึ่ง
8. Wood Backing Wallpaper

วอลล์เปเปอร์ชนิดนี้มีผิวหน้าเป็นไม้จริง โดยการใช้วัสดุที่เป็นธรรมชาติ เช่น ไม้ก๊อก ไม้ไผ่ มาทำการลามิเนตกับกระดาษหนังไก่ ให้สัมผัสเสมือนอยู่ในธรรมชาติ
9. Fabric Backing Wallpaper

วอลล์เปเปอร์ชนิดนี้เป็นวัสดุสิ่งทอที่ด้านหลังแทนกระดาษ และผิวหน้าเคลือบด้วยสารพีวีซี (PVC) คุณสมบัติ คือ ความทนทาน ป้องกันการกระแทกได้ดี เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการใช้งานมาก
วอลล์เปเปอร์ที่ใช่ เลือกอย่างไรให้ตรงกับการใช้งาน
เน้นอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดูแลรักษาง่าย ควรเลือกวอลล์เปเปอร์ ไวนิล ซึ่งมีผิวคล้าย PVC มีคุณสมบัติเด่น คือ ผิวที่ทนทาน ไม่ซึมน้ำ แข็งแรง ลดความเสียหายจากการกระแทก หรือการขูดขีดที่อาจไม่ตั้งใจ

เน้นเรื่องความนุ่มนวล สบายๆ ควรเลือกวอลล์เปเปอร์ชนิดที่มีผิวเป็นโฟม ซึ่งจะให้ความหนานุ่ม ให้ลวดลายมีมิติ ดูนุ่มนวล มีความสุข สร้างความอบอุ่น ช่วยซับเสียงได้มากกว่า ปิดรอยไม่เรียบของผนังและเพดานได้มากกว่า
เน้นธรรมชาติ สร้างความเป็นเอกลักษณ์ ให้สัมผัสและความรู้สึกจากวัสดุธรรมชาติ ควรเลือกวอลล์เปเปอร์ผ้า เยื้อไม้ หรือวัสดุอื่นที่ผลิตจากธรรมชาติ
ลายและสีของวอลล์เปเปอร์ ช่วยสร้างมิติของห้อง
วอลล์เปเปอร์ลายใหญ่ สีเข้ม ควรใช้กับผนังด้านใดด้านหนึ่ง หรือบางส่วนของห้อง เท่านั้น เช่น หัวเตียง หรือโซนที่ต้องการสร้างความโดดเด่น ไม่ควรเลือกลายดังกล่าวทั้งห้องหรือผนังทุกด้าน จะทำให้ห้องดูรก ตาลาย การตัดต่อลายจะเหลือเศษ

วอลล์เปเปอร์สีอ่อน เรียบ เล็ก เหมาะกับการตกแต่งคอนโดที่มีเฟอร์นิเจอร์ Built-In หรือการตกแต่งที่มีลายละเอียดมากๆ ห้องเล็กมีพื้นที่จำกัด หรือพื้นที่คับแคบ วอลล์เปเปอร์สีสว่างๆ ทำให้ห้องสว่าง โปร่ง และสบายตามากขึ้น
วอลล์เปเปอร์ (wallpaper) วัสดุที่จะมาทำให้ทุกห้องในบ้านของคุณมีสีสันมากขึ้น เราจึงควรทำความรู้จักกับชนิดของวอลล์เปเปอร์ก่อนว่ามีกี่แบบ เนื้อวัสดุมีกี่ชนิด และมีหลักในการเลือกอย่างไรบ้าง เพื่อความเหมาะสมของแต่ละห้อง เพื่อให้วอลล์เปเปอร์สร้างมิติมุมมองให้ห้องของเราน่าอยู่ในแบบที่เป็นเรา
อ่านบทความ กระเบื้องยาง วัสดุแนวใหม่ ความแตกต่างระหว่างพื้นไม้ลามิเนต
แหล่งที่มาของภาพ
https://en-n.decorexpro.com/nastennye-pokrytiya/oboi/dupleks/
https://www.teahub.io/viewwp/iTTJmRo_chardonnay-fabric-backed-vinyl-wallcovering/