บ้านสไตล์ นอร์ดิก เป็นอย่างไร ไปดูกัน

บ้านสไตล์ นอร์ดิก เป็นอย่างไร ไปดูกัน 1

บ้านสไตล์นอร์ดิก กระแสที่มาแรงเป็นบ้านในฝันของใครหลายๆคน ที่เห็นเป็นต้องถูกอกถูกใจ กับการออกแบบที่เน้นกลิ่นอายไปทางแทบยุโรป ทำให้ในปัจจุบันมีการดัดแปลงให้เข้ากับประเทศไทยมากยิ่งขึ้น เพราะเดิมทีนั้นถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับเมืองหนาวเสียมากกว่า วันนี้แอดจะพาเพื่อนๆไปทำความรู้จักกับบ้านสไตล์นี้ สำหรับคนที่กำลังจะปลูกบ้านดีๆสักหลัง ด้วยงบที่ไม่แรงมากจนเกินไป

ทำความรู้จัก บ้านสไตล์นอร์ดิก กลิ่นอายเมืองหนาว กับเทรนด์บ้านที่ห้ามพลาด

บ้านสไตล์นอร์ดิก (Nordic house) หรือเรียกได้อีกชื่อว่า บ้านสไตล์สแกนดิเนเวียน (Scandinavian style) เป็นอีกหนึ่งสไตล์บ้านที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่มีงบน้อยในการปลูกบ้านเป็นอย่างมาก เพราะด้วยรูปทรงที่ไม่ซับซ้อนของแปลนบ้านสักเท่าไร ทำให้ในปัจจุบันในเมืองไทยจึงเป็นที่นิยมกันในแพร่หลาย ไม่ว่าจะปลูก 1 ชั้นหรือ 2 ชั้น ที่ดินจะกว้างแคบเพียงใด ก็สามารถออกแบบได้หมด

รู้หรือไม่ว่า แท้ที่จริงแล้วชื่อเรียกสไตล์บ้านของนอร์ดิก ได้รับอิทธิพลมาจากทวีปยุโรปตอนเหนือ ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับให้ตัวบ้านได้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ เพราะในทวีปนี้ไม่ว่าจะประเทศ สวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ หรือเดนมาร์ก ในประเทศเหล่านี้จะมีช่วงเวลากลางคืนที่แสนสั้น แต่กับมีช่วงเวลากลางวันที่ยาวนาน ทำให้หน้าบ้านส่วนใหญ่ทำด้วยกระจกเพื่อให้ตัวบ้านอบอุ่น อยู่สบาย ไม่หนาวจนเกินไป

บ้านสไตล์ นอร์ดิก เป็นอย่างไร ไปดูกัน 2

จุดที่โดดเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก จะอยู่ที่หน้าบ้านที่มองเห็นทรงรูปบ้านเป็นทรงจั่วเลขาคณิต คล้ายกับโรงนาหรือโรงเกษตร ให้กลิ่นอายได้เข้ากับธรรมชาติ เพราะในทวีปยุโรปเหนือนอกจากจะมีอากาศที่หนาวเย็นมากๆแล้ว ยังมีวิวทิวทัศน์ของเทือกเขา รายล้อมไปด้วยธรรมชาติ ให้ตัวบ้านได้เห็นถึงโลเคชันที่สวยงาม แฝงไปด้วยความโรแมนติก ความอบอุ่นของตัวบ้านนั้นเอง

อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันเทรนด์บ้านสไตล์นี้คนไทยให้ความนิยมกันเป็นอย่างมาก ได้ดัดแปลงออกมาไม่ว่าจะเป็นบ้านสไตล์นอร์ดิก มินิมอล แนวลอฟท์ โมเดิร์นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้รองรับกับอากาศของบ้านเราที่ต่างกับยุโรปเหนืออย่างสุดขั้วเลย อย่างนั้นเราลองไปดูกันว่าจะมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไรบ้าง สำหรับใครที่กำลังมองแบบบ้านสไตล์นี้อยู่

บ้านสไตล์ นอร์ดิก เป็นอย่างไร ไปดูกัน 3

จุดเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก

1. ลักษณะของทรงบ้านที่มีลักษณะหน้าจั่ว ทำให้ดูโปร่งโล่งสบาย อากาศถ่ายเทตลอดทั้งวัน ถ้าในประเทศไทยแนะนำว่าให้หันตัวหน้าบ้านออกทางทิศตะวันตก เพราะจะทำให้บ้านไม่ร้อนจนเกินไป ด้วยลักษณะการตกแต่งสไตล์นอร์ดิกที่นิยมใช้กระจกของหน้าบ้าน

2. เอาใจคนงบน้อยได้ค่อนข้างดี เพราะแปลนบ้านไม่มีความซับซ้อน เน้นเป็นแปลนบ้านสี่เหลี่ยมธรรมดา แต่จะเน้นไปทางตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ในบ้านแทน

3. ถูกใจคนรักการตกแต่งภายใน เพราะในตัวบ้านจะเป็นพื้นที่โล่ง สามารถตกแต่งได้หลากหลายแนว

4. วัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้านจะเน้นความสวยงามของธรรมชาติ ทำให้บ้านดูเย็น อยู่สบาย บ้านไหนที่มีผู้สูงอายุ ถูกใจท่านแน่นอน

5. ช่วยให้กำลังทิศทางลมได้เป็นอย่างดี ด้วยหลังคาที่เป็นหน้าจั่ว มีลักษณะที่สูง โปร่ง ช่วยให้ระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี

บ้านสไตล์ นอร์ดิก เป็นอย่างไร ไปดูกัน 4

ข้อควรรู้ของบ้านสไตล์นอร์ดิก

1. ด้วยลักษณะของบ้านสไตล์นอร์ดิก ที่จุดเด่นจะอยู่ทางด้านหน้าบ้านเป็นตัวกระจก ถ้าเกิดหันหน้าบ้านผิด ถึงทรงบ้านจะดูโปร่งโล่งอย่างไร ก็จะทำให้บ้านนั้นเกิดภาวะร้อนได้เช่นกัน นอกจากเรื่องทิศแล้ว วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างก็จำเป็นเช่นกัน

2. ลักษณะของหลังคาในสไตล์นี้จะทำให้มีปัญหาเรื่องตอนฝนตกได้ ทั้งฝนสาด ผนังชื้นเร็ว ทางที่ดีควรแก้ปัญหาโดยการใส่ที่กันสาดฝนไว้บริเวณหน้าบ้านหรือข้างบ้านได้เลย หรือจะออกแบบบ้านด้วยวิธีการร่นผนังเว้าเข้าไป เพื่อเป็นกันสาดไปในตัวนั้นเอง

3. ควรจ้างช่างที่มีฝีมือเป็นอย่างดี เพราะการมุงหลังคาเป็นสิ่งที่จำเป็น ถ้าเกิดทำไม่ดีอาจเจอปัญหาหลังคารั่วได้ง่าย ด้วยลักษณะของสไตล์นี้ที่เน้นเป็นทรงหน้าจั่วอยู่แล้ว

ทั้งนี้สำหรับเพื่อนคนไหนที่กำลังมองดูแบบบ้านอยู่นั้น อยากให้อิงข้อมูลหลายๆอย่างประกอบกัน ทั้งในพื้นที่ดินในการปลูกบ้าน ว่าหน้ากว้างลึกประมาณเท่าไร งบประมาณในการสร้าง ก่อนที่จะเลือกว่าควรจะสร้างบ้านในสไตล์นอร์ดิกแบบไหนดี ทั้งแบบมินิมอล แนวลอฟ์ แนวญี่ปุ่น และสิ่งสำคัญก็คือการเลือกใช้วัสดุที่ตอบรับกับอากาศบ้านเรา หวังว่าจะเป็นความรู้ในการประกอบการตัดสินใจให้เพื่อนได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

ขอบคุณรูปจาก

https://www.reviewyourliving.com

https://tee-evapralines.com/

อ่านต่อที่ แบบบ้าน รีโนเวทบ้าน

เว็บตรงสล็อต

ufabet เว็บหลัก

เว็บสล็อตแตกง่ายที่สุด

Recent Posts

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ร้านอาหารอร่อย
kinkubsher

แฟชั่นผู้ชาย
maleextratoday

แบบบ้าน
baan-design

แต่งงาน
weddingdistrictfrance